วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินศักยภาพของหมู่บ้าน (จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ภัยคุกคาม

 2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือสภาพแวดล้อมภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง) จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงจุดเด่น และข้อเสียเปรียบของหมู่บ้าน

(1) จุดอ่อน Weakness คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น  (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
                   (1.1) จุดอ่อนของหมู่บ้าน

(1.๑) ปัญหาเรื่องน้ำกิน  น้ำใช้ เป็นสนิมและน้ำแดง ภายในหมู่บ้าน.                                                                         (1.2) ประชาชนยังขาดที่ดินทำกิน ต้องบุกรุกที่ดินป่าพรุ                                                                            (1.3) ประชาชนบางกลุ่มยังขาดอาชีพที่มั่นคง          

   ด้านเศรษฐกิจ

          ปัญหา

          -  ประชากรขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาอาชีพ

          -  ประชากรในพื้นที่ว่างงาน,ตกงาน

          -  ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นตกต่ำ

          -  ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ

          -  ไม่มีที่ดินทำกิน ที่ทำกินไม่เพียงพอ

          อุปสรรค

          -  ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ

          -   ประชาชนขาดความรู้ด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต
   ด้านสังคม (เด็ก  เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสการศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม)

          ปัญหา

          -  เด็กและเยาวชนในพื้นที่ติดยาเสพติด

          -  ผู้สูงอายุขาดการดูแลอย่างเหมาะสม

          -  ครอบครัวมีปัญหาแตกแยกทำให้เด็กขาดความอบอุ่น

          อุปสรรค

          -  คนวัยทำงานต้องไปประกอบอาชีพ  ทำให้ขาดผู้ดูแลผู้สูงอายุ

          -  ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน

 

   ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ปัญหา

          -  การใช้ดินและป่าอย่างไม่มีระบบและขาดการดูแลทำให้มีความเสื่อมโทรม

          -  สภาพดินที่ทำกินเสื่อมโทรมและขาดธาตุในดินทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรไม่ดีเท่าที่ควร

          อุปสรรค

          -  สภาพดินในพื้นที่ทำให้ต้องมีการบำรุงดิน

          -  ขาดการสร้างจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

   ด้านการเมืองและบริหารจัดการ

          ปัญหา

-  การจัดการด้านต่างๆ  ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า

          -  การแบ่งหน้าที่ปกครองยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร  

          อุปสรรค

          -  ทำงานล่าช้า และไม่รวดเร็ว

   ด้านการศึกษา

-ปัญหา

          -  การศึกษาอยู่ในขั้นตกเกณฑ์ต่ำ

          -  นักเรียนมีความรู้น้อย  

          อุปสรรค

          -  ทำให้นักเรียนมีความรู้ด้อยกว่าโรงเรียนอื่น

   ด้านความมั่นคงในพื้นที่

-ปัญหา

          -  มีการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ไม่เพียงพอ

          -  เสียงความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน       

          อุปสรรค

          -  ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

   ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ปัญหา

           -    การคมนาคมภายในหมู่บ้านที่ใช้ถนนสายที่เป็นลูกรังยังไม่สะดวก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

           -    มีแหล่งน้ำไม่เพียงพอสำหรับการทำการเกษตร เนื่องจากขาดระบบชลประทาน ทำให้การทำพืชไร่มีปัญหาในกรณีฝนทิ้งช่วง

อุปสรรค

 -   สภาพถนนที่เป็นลูกรังไม่สะดวกในการสันจร

 -   ขาดแหล่งน้ำในการการเกษตร

   ด้านสาธารณสุข

          ปัญหา

           -  ในช่วงฤดูฝนประชาชนในหมู่บ้านต้องพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

อุปสรรค

- ประชาชนยังป้องกันไม่ถูกวิธี

(2)  จุดแข็ง Strength คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น  (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
          (2.1) มีเศรษฐกิจและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี
          (2.
2) ประชาชนในเขตตำบลปูโยะ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม ยึดมั่นในศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม   

   ด้านเศรษฐกิจ

          ศักยภาพ

          -   มีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์ชุมชน

          -   มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ

          -  ผู้คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีการประกอบอาชีพ

                   ความสามารถของหมู่บ้าน

                   -  สามารถผลิตได้ตามความต้องการของตลาด และผู้บริโภค

                   -  กลุ่มผู้ค้าขายมีความสามารถในการนำเสนอผลิตผลได้เอง

                   -  กลุ่มผู้ค้าขายมีความเข็มแข็ง และมีการรวมตัวเป็นกลุ่มผู้ค้าขาย

   ด้านสังคม (เด็ก  เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม)

                   ศักยภาพ

                   -  ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน

                   - ประชาชนมีความรู้ด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของหมู่บ้าน

                   -  ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน

 

                   ความสามารถของหมู่บ้าน

                   -  หมู่บ้านมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

                   -  สามารถสนองตอบความต้องการของสังคมได้

   ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ศักยภาพ

                   -  มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์

                   -  สภาพหมู่บ้านมีการพัฒนาให้สะอาดและน่าอยู่อย่างสม่ำเสมอ

                   ความสามารถของหมู่บ้าน

                   -  ประชาชนรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุมีผล

                   -  ประชาชนสามารถจัดการการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ได้เอง

   ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ

                   ศักยภาพ

                   -  มีระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง

                   -  การมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน

                   ความสามารถของหมู่บ้าน

                   -  เป็นหมู่บ้านที่ปลอดความขัดแย้งทางการเมือง

                   -  สามารถบริหารจัดการปัญหาของหมู่บ้านได้เอง

   ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ศักยภาพ

                     -   ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านโดยส่วนใหญ่มีความพร้อม และสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่ม --มากยิ่งขึ้นรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามมา

ความสามารถของหมู่บ้าน

                      -มีระบบสาธารณูปโภคที่ดีและพร้อม

   ด้านสาธารณสุข

ศักยภาพ

                     -  ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย หรือการออกแรงออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น

ความสามารถของหมู่บ้าน

           -  ประชาชนออกกำลังกายสม่ำเสมอ

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
(1) โอกาส
                   - โอกาสของหมู่บ้าน (เป็นปัจจัยภายนอกชุมชนที่จะส่งเสริมและสร้างโอกาสให้ชุมชนได้สามารถพัฒนาได้)

โอกาสจากภายนอกหมู่บ้าน

                   1.๑ มีงบประมาณช่วยเหลือ กลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนใต้

                   1.๒ มีเจ้าหน้าที่ทหารรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในหมู่บ้านกูแบอีแก

(2) อุปสรรค

2.1. ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

                   2.2 ปัญหาด้านงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านที่ไม่เพียงพอ

                   2.3 ปัญหาเรื่องระเบียบ กฎหมาย ข้อปฏิบัติ ไม่สอดคล้องกับการบริหารงานแบบบูรณาการ

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน

      (1) โอกาส Opportunity (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลบวกที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)

          (1.1) ในเขตพื้นที่หมู่บ้านกูแบอีแก มีที่ดินทำมาหากินเพียงพอต่อประชาชน  หมู่ที่ ๔ บ้านกูแบอีแก แต่มีปัญหาเกี่ยวกับที่ดินไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครอง

          (1.2) มีกลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน แต่มีทุนไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ

          (1.3) เจ้าหน้าที่ทหารรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในหมู่บ้านกูแบอีแก  เมื่อมีภัยคุกคาย

(2) อุปสรรค Threat (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลลบที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
(2.1)
 ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่สามปัญหาด้านงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านที่ไม่เพียงพอจังหวัดชายแดนใต้

          (2.2) ปัญหาด้านงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านที่ไม่เพียงพอ                 

          (2.3) ปัญหาเรื่องระเบียบ กฎหมาย ข้อปฏิบัติ ไม่สอดคล้องกับการบริหารงานแบบบูรณาการ

2.3 เป้าหมายการพัฒนา (วิสัยทัศน์ , Vision) ของหมู่บ้าน

        “หมู่บ้านน่าอยู่  ชุมชนเข้มแข็ง  แบ่งปันน้ำใจ  น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     คำขวัญ (สิ่งที่ชุมชนมุ่งหวังอยากให้เป็นในอนาคต) คือ

หมู่บ้านสามัคคี  คนดีกูแบอีแก

          แตงโมหวานพันธ์แท้  แหล่งปลาชุกชุม

ยุทธศาสตร์ คือ แผนและนโยบายในการทำงานของหมู่บ้านให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้    
              
      :1. ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยมีการรงณรงค์การคัดแยกขยะที่ถูกวิธีและเหมาะสม

                    2. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความสามัคคีปรองดอง  โดยมีกองทุนแม่ของแผ่นดินเป็นแนวทางแก้ไข

                    3 ส่งเสริมและสนับสนุนการดำรงชีวิต โดยยึดหลักคำสอนของศาสนา สืบสานภูมิปัญญา อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน

                   ๔. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของชุมชน ครัวเรือนในการการศึกษาเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวิถีชีวิตประจำวัน

 

2.5 กลยุทธ์

                   (กลยุทธ์  คือ หลัก  วิธีการ และแนวทางในการปฏิบัติตามประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายตามวิสัยทัศน์)

  เป็นหมู่บ้านที่สะอาดน่าอยู่มีการบริหารจัดการขยะที่ถูกวิธี

                    1)  สร้างหมู่บ้านที่เข้มแข็ง  มีความสามัคคี  เสียสละเพื่อส่วนรวม

                    3) สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)

      หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน  การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำ
SWOT  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

  ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน/ชุมชน    เมื่อประมาณ ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว ได้มีคนอพยพเข้ามาถางป่าเพื่อปลูกพืชไร่ในบริเวณป่าพรุ และได้พบหนองน้ำท...